โฌแซ็ฟ ฟูเช
โฌแซ็ฟ ฟูเช

โฌแซ็ฟ ฟูเช

โฌแซ็ฟ ฟูเช ดยุกที่ 1 แห่งโอตรันโต (ฝรั่งเศส: Joseph Fouché, 1st Duc d'Otrante) เป็นรัฐบุรุษแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 เขาเป็นที่จดจำจากการใช้ความรุนแรงในการปราบปรามผู้ก่อจลาจลในลียงระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1793 และหลังนโปเลียนก่อรัฐประหารเดือนบรูว์แมร์ในปี ค.ศ. 1799 เขาก็ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการตำรวจและได้รับบรรดาศักดิ์เป็นดยุกแห่งโอตรันโต โฌแซ็ฟ ฟูเช เกิดที่เลอแปลแร็ง หมู่บ้านเล็ก ๆ ใกล้กับเมืองน็องต์ เขาเข้ารับการศึกษาที่วิทยาลัยโบสถ์ในน็องต์ เขาเดินทางมาปารีสด้วยความตั้งใจอยากเป็นครู ซึ่งก็ทำให้เขาประสบความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เขาได้เป็นอาจารย์ในวิทยาลัยหลายแห่งของปารีส ซึ่งทำให้เขาได้มีโอกาสรู้จักกับมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ เขาและรอแบ็สปีแยร์มีการพบปะกันทั้งในช่วงก่อนการปฏิวัติและในช่วงต้นของการปฏิวัติ ต่อมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1790 เขาถูกเรียกตัวกลับไปสอนที่เมืองน็องต์ การที่ฟูเชเป็นคนหัวประชาธิปไตยและต่อต้านศาสนจักร ก็ทำให้เขากลายเป็นที่นิยมชมชอบของประชาชนเมืองน็องต์ และทำให้เขาได้เป็นผู้นำระดับท้องถิ่นของฌากอแบ็งหลังระบอบกษัตริย์ล่มสลายลงในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1792 ฟูเชก็ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนของจังหวัดลัวรัตล็องติกในสภากงว็องซียงแห่งชาติ ช่วงแรกเขาไปคลุกคลีอยู่กับฝ่ายฌีรงแด็ง แต่เนื่องจากพวกฌีรงแด็งไม่สนับสนุนการสำเร็จโทษพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทำให้ฟูเชตัดสินใจย้ายไปอยู่ฝ่ายลามงตาญ ฟูเชสนับสนุนอย่างแรงกล้าให้มีการประหารชีวิตพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ในทันที ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1793 ฟูเชเดินทางไปเมืองลียงกับฌ็อง-มารี กอโล แดร์บัว เพื่อประหารเหล่าผู้ก่อกบฎสภาจำนวน 271 คน[1] มีการใช้โซ่ล่ามผู้ต้องโทษเข้าด้วยกันและใช้ปืนใหญ่ระดมยิงกระสุนพวงเพื่อสังหาร ทำให้ฟูเชได้รับฉายาว่า "เครื่องประหารแห่งลียง"[2] ความโหดร้ายของฟูเชทำให้รอแบ็สปีแยร์เกิดหวั่นใจขึ้นมา รอแบ็สปีแยร์พยายามกำจัดฟูเชให้พ้นจากสโมสรฌากอแบ็งในวันที่ 14 กรกฎาคม 1794 แต่ฟูเชไหวตัวทันและหลบซ่อนตัวอยู่ในปารีสภายใต้การคุ้มครองของปอล บารัส และร่วมวางแผนโค่นล้มรอแบ็สปีแยร์ การโค่นล้มรอแบ็สปีแยร์ในวันที่ 27 กรกฎาคม 1794 นำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่เรียกว่าคณะดีแร็กตัวร์ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1799 ฟูเชได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการตำรวจในห้วงเวลาที่ปารีสเต็มไปด้วยความวุ่นวาย แอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส สมาชิกดีแร็กตัวร์คนใหม่ ต้องการควบคุมพวกฌากอแบ็งที่พยายามเปิดสโมสรขึ้นมาอีกครั้ง ฟูเชได้สั่งปิดสโมสรฌากอแบ็งตามความต้องการของซีเยแย็ส พร้อมทั้งตามล่านักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ทั้งของฝ่ายฌากอแบ็งและฝ่ายนิยมเจ้า เมื่อนายพลนโปเลียนกลับจากอียิปต์ถึงฝรั่งเศสในเดือนตุลาคม ฟูเชเข้าร่วมกับนโปเลียนและซีเยแย็สเพื่อโค่นล้มอำนาจของคณะดีแร็กตัวร์ ภายหลังรัฐประหาร 18 บรูว์แมร์ ฟูเชก็กลายเป็นคนสนิทของนโปเลียน นโปเลียนคงตำแหน่งรัฐมนตรีตำรวจของฟูเชไว้ตามเดิม

โฌแซ็ฟ ฟูเช

ก่อนหน้า สถาปนาตำแหน่ง
พรรคการเมือง ฌากอแบ็ง (1789–1795)
ฌีรงแด็ง (1792–1793)
ลามงตาญ (1793–1794)
Thermidorian (1794–1799)
เกิด 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1759(1759-05-21)
เลอแปลแร็ง, ฝรั่งเศส
ถัดไป ตาแลร็อง-เปรีกอร์
(ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี)
กษัตริย์ นโปเลียนที่ 2
เสียชีวิต 26 ธันวาคม ค.ศ. 1820 (61 ปี)
ตรีเยสเต, อิตาลี
ศาสนา ลัทธิแห่งเหตุผล
ต่อมา โรมันคาทอลิก

ใกล้เคียง

โฌแซ็ฟ ฟูรีเย โฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็ง โฌแซ็ฟ-หลุยส์ ลากร็องฌ์ โฌแซ็ฟ โบนาปาร์ต โฌแซ็ฟ ฟอร์ล็องซ์ โฌแซ็ฟ หลุยส์ แก-ลูว์ซัก โฌแซ็ฟ กาบีลา โฌแซ็ฟ ฟูเช โฌแซ็ฟ ฌ็อฟร์ โฌแซ็ฟ พรุสต์